เมนู

นี้ไว้ด้วยว่า ธรรมบรรยายนี้ชี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์.
จบ อุตตรสูตรที่ 8

อรรถกถาอุตตรสูตรที่ 8


อุตตรวิปัตติสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วฏฺฏชาลิกายํ คือ ในวิหารอันมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า วิหาร
นั้น ได้ชื่อว่า วัฏฏชาลิกา เพราะตั้งอยู่ในป่าวัฏฏวัน. บทว่า
ปาตุรโหสิ ความว่า ได้เป็นผู้มาปรากฏด้วยตั้งใจว่า จักบอกเรื่องนี้
แก่ท้าวเทวราช. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก แปลว่า เป็นเบื้องต้น
พรหมจรรย์ทั้งสิ้นอันเป็นที่รวบรวมสิกขา 3 ไว้.
จบ อรรถกถาวิปัตติสูตรที่ 8

9. นันทสูตร


[99] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะเรียกนันทะให้จักต้อง พึง
เรียกว่ากุลบุตร ว่าผู้มีกำลัง ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใส ผู้มีราคะกล้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อความนี้ย่อมมีเพราะเหตุไร เพราะว่า นันท-
ภิกษุคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ
ความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่เสมอ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
อันเป็นเหตุให้นันทภิกษุสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้แลย่อมมีได้เพราะ
นันทภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
หากนันทภิกษุ พึงเหลียวไปทางทิศบูรพาไซร้ นันทภิกษุก็ย่อม
สำรวมจิตทั้งปวงเหลียวดูทิศบูรพา ด้วยคิดว่า เมื่อเราเหลียวดู
ทิศบูรพาอย่างนี้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทนนัส
จักไม่ครอบงำจิตเราได้ เธอย่อมเป็นผู้รู้สึกตัวในการเหลียวดูนั้น
ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากนันทภิกษุพึงเหลียว
ไปทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน
พึงเหลียว ไปตามทิศน้อยทั้งหลายไซร้ นันทภิกษุย่อมสำรวมจิต
ทั้งปวงเหลียวไปทางทิศน้อย ด้วยคิดว่า เมื่อเราเหลียวแลไปตาม
ทิศน้อยอย่างนี้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส
จักไม่ครอบงำจิตเราได้ เธอย่อมรู้สึกตัวในการเหลียวแลนั้นด้วย
ประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะนันท-
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.